- ห้องปฏิบัติการวิจัยข้อมูลวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
(Data Science and Engineering Laboratory, D-Lab)
สร้างขึ้น เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย ทางด้านเกี่ยวกับข้อมูล หรือ สารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลสถิติ ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางชีวภาพ ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลกราฟิกส์ และ อื่น ๆ เป็นต้น และสร้างคลังรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลอง พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน และ/หรือการประยุกต์ข้อมูลด้านอื่น ๆ รวมทั้งการเป็นผู้สร้างต้นแบบความรู้เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้แก่นักวิจัยด้านข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- สร้างคลังรวบรวมข้อมูล (Data Repository) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ
- ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่องานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน และ/หรือการประยุกต์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (System development)
- สร้างความร่วมมือการวิจัยจากหน่วยงานวิจัยภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน - Competition (organizing, participating)
- มีห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมในการอบรม ฝึกทักษะการวิจัยTraining (organizing)
- จัดการอบรม/สัมมนาทางวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย - Workshop/Symposium (organizing)
Information presentation:
- ห้องปฏิบัติการวิจัย IP Communication Laboratory (I Lab)
สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบคุณภาพของระบบโทรศัพท์ ผ่านเครือข่ายไอพี หรือ Voice over IP (VoIP) โดยสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในส่วนของคุณภาพสัญญาณเสียง และ คุณภาพของ packet ข้อมูลในเครือข่ายไอพี ซึ่งระบบการวิเคราะห์นี้สามารถทดสอบได้ ในสองส่วนหลัก คือ
1) อุปกรณ์สำหรับระบบ VoIP
2) คุณภาพสัญญาณจากผู้ให้บริการ
นอกจากนั้นแล้วยังสามารถให้บริการจำลอง และวิเคราะห์ระบบ VoIP เพื่อการใช้งานจริง ซึ่งเป็นบริการที่เปิดให้กับภาคเอกชนที่สนใจในการติดตั้งระบบ VoIP ที่ยังไม่แน่ใจว่าระบบที่จะจัดซื้อนั้น จะสามารถใช้งานได้ตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการจะทำการสำรวจและวิเคราะห์ พร้อมทั้งจำลองระบบที่ใช้งานจริงเพื่อทดสอบระบบ VoIP ที่จะนำมาใช้ และสามารถช่วยในการออกแบบระบบ VoIP ก่อนการติดตั้งจริง ทำการ Fine Tune เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจในคุณภาพ และระบบการทำงานให้ได้ตามต้องการ อีกทั้งห้องปฏิบัติการยังจัดเตรียมอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet เพื่อรองรับการทำโครงการวิจัยของนักศึกษา และบุคลากรภายในคณะฯ
- ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมความต้องการ
(Requirement Engineering Laboratory, R-lab)
เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัยทางด้านแนวทาง (Framework) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านต่างๆ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสร้าง พัฒนา และนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ รวมทั้งกระบวนการ ขั้นตอน และเทคนิคในการศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ และบริหารจัดการความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการในมุมมองของผู้ใช้งานที่นอกเหนือไปจากความสำเร็จในทางเทคนิคเท่านั้น
นอกจากนี้ งานของ R-lab ยังครอบคลุมไปถึงงานวิจัยเชิงนโยบาย การวางแผน และการประเมินผลเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับต่างๆ เช่นแนวทางในการตรวจสอบ/การตรวจรับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน การประเมินความสำเร็จของแอพพลิเคชันที่มีการพัฒนาขึ้น และงานของ R-lab จึงสามารถร่วมมือเชื่อมโยงและเติมเต็มงานด้านเทคนิคของห้องปฏิบัติการวิจัยอื่นๆของคณะฯ ให้มีความสมบูรณ์ของกระบวนการวิจัยครบถ้วน โดยการทำงานของห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ระหว่างนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และกิจกรรมทางการวิจัยเพื่อส่งเสริมโครงการวิจัยของนักศึกษา
Information presentation:
- ศูนย์วิจัยบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service Research Center : ESRC)
เป็นหน่วยงานในสังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม ใน
รูปแบบการให้คำปรึกษา การวิจัย การออกแบบระบบ การปรับปรุงและพัฒนาระบบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษาและค้นหารูป
แบบการทำ EService ที่เหมาะสมกับธุรกิจในประเทศไทย และนำรูปแบบ E-Service ที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้กับองค์กรอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศ นอกจากนี้ทางคณะทำงานยังได้นำประสบการณ์ จริงที่ได้รับจากการทำงานมาถ่ายทอดให้ แก่บุคลากรและนักศึกษาโดยการดำเนินงานของศูนย์วิจัย จะเป็นการทำงานเป็นทีม อันประกอบด้วย คณาจารย์ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ